Week4

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถอธิบายพืชผักที่เก็บมาโดยใช้ประสาทสัมผัสทางกาย และทำอาหารจากสัตว์ได้หลากหลายเมนูโดยวัตถุดิบที่มีทั้งหมด
Week4
Input
Process
Output
Outcome

โจทย์ :
อาหารจากสัตว์
Key  Questions :
- จากพืชผักที่นักเรียนเลือกเก็บมามีชื่อว่าอะไร /มีลักษณะอย่างไร /เก็บมาจากที่ไหน /มีกลิ่นอย่างไร /รสชาติเป็นอย่างไร/เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
- นักเรียนจะนำผักทุกอย่างที่เราเก็บมาทำเป็นอาหาร 1 อย่าง แล้วจะทำอะไรได้บ้าง? (เครื่องอ่อม ข่า ตะไคร้ มะเขือ ใบอ่อมแสบ บวบ)
- นักเรียนคิดว่ายังมีส่วนผสมอะไรอีกที่ใช้ในการทำอาหารของตนเอง?
- อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำอาหารของนักเรียนมีอะไรบ้าง/ใครจะช่วยเตรียมได้บ้าง
?
เครื่องมือคิด :
- Brainstorms เพื่อระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการนำวัตถุดิบที่มี
-
Show and Share ชิ้นงานทั้งหมดในสัปดาห์
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- พืชผักภายในโรงเรียน
- บริเวณภายในโรงเรียน
- อุปกรณ์ทำอาหาร

















วันจันทร์ 1 ชั่งโมง
ชง
- ครูพานักเรียนเดินสำรวจบริเวณรอบๆครัวใหญ่ของโรงเรียน เพื่อสำรวจพืชผักที่จะนำกลับมาทำเป็นอาหาร
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "พืชผักต่างๆเหล่านี้นำมาทำอาหารอะไรได้บ้าง"
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการนำผักต่างๆมาทำเป็นอาหาร
- ครูพานักเรียนเลือกเก็บผักที่ต้องการ
(เครื่องอ่อม ข่า ตะไคร้ มะเขือ ใบอ่อมแสบ บวบ)
- ครูและนักเรียนช่วยกันล้างทำความสะอาดพืชผักที่เก็บมาจากครัวใหญ่
วันอังคาร 1 ชั่วโมง

ชง
ครูตั้งคำถามจากสิ่งที่เก็บมา “จากพืชผักที่นักเรียนเลือกเก็บมามีชื่อว่าอะไร /มีลักษณะอย่างไร /เก็บมาจากที่ไหน /มีกลิ่นอย่างไร /รสชาติเป็นอย่างไร/เหมือนหรือต่างกันอย่างไร”


เชื่อม
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการใช้ประสาทสัมผัสทางกาย จากการมอง ดมกลิ่น สัมผัส และชิมรสชาติ ของพืชผักที่เก็บมาทั้งหมด
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะนำผักทุกอย่างที่เราเก็บมาทำเป็นอาหาร
1 อย่าง แล้วจะทำอะไรได้บ้าง”
เชื่อม
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกับเมนูอาหารที่สามารถรวมพืชผักทั้งหมดมาทำเป็นอาหาร 1 อย่างได้
ใช้
- นักเรียนวาดภาพและเขียนชื่อของพืชผักที่เก็บมาลงในสมุด
- นักเรียนกลับไปสอบถามคุณแม่หรือผู้ปกครองที่บ้านว่าผักทั้งหมดสามารถนำมาทำอาหาร 1 อย่างแล้วจะทำอะไรได้บ้าง

วันพุธ
1 ชั่งโมง
ชง
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนจะนำผักทุกอย่างที่เราเก็บมาทำเป็นอาหาร 1 อย่าง แล้วจะทำอะไรได้บ้าง”
เชื่อม
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการนำผักทั้งหมดไปทำอาหาร 1 อย่างร่วมกัน เพื่อจะทำอาหาร โดยแบ่งอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมมาในวันพฤหัสบดี
ใช้
นักเรียนเขียนอุปกรณ์ที่ต้องรับผิดชอบนำมาในวันพุธลงในสมุดของตนเอง เพื่อเตรียมเป็นการบ้าน
วันพฤหัสดี 1 ชั่วโมง
ชง
ครูและนักเรียนร่วมกันทำอาหารจากผักที่มีอยู่และ วัตถุดิบที่เตรียมมาเพิ่มเติมเป็น 3 กลุ่มๆละ 6-7 คน
เชื่อม
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับอาหารที่ทำขึ้นทั้ง 4 กลุ่ม กลิ่น รสชาติ และส่วนผสม
ใช้
นักเรียนเขียนสรุปการทำอาหารเป็นกลุ่ม
วันศุกร์ 1 ชั่วโมง
ชง
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ในสัปดาห์ที่ 4 นี้นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง / เรียนรู้อย่างไร
เชื่อม
-
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
- นำเสนอชิ้นงานเป็นกลุ่ม
ภาระงาน
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการนำผักต่างๆมาทำเป็นอาหาร
-
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการใช้ประสาทสัมผัสทางกาย จากการมอง ดมกลิ่น สัมผัส และชิมรสชาติ ของพืชผักที่เก็บมาทั้งหมด
- ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกับเมนูอาหารที่สามารถรวมพืชผักทั้งหมดมาทำเป็นอาหาร
1 อย่างได้
- ประกอบอาหารจากวัตถุดิบที่เก็บมาเป็นกลุ่ม
ชิ้นงาน
- วาดภาพและเขียนชื่อพืชผักที่เก็บมาจากครัวใหญ่
- สรุปการทำอาหารเมนูจากสัตว์
ความรู้
นักเรียนสามารถอธิบายพืชผักที่เก็บมาโดยใช้ประสาทสัมผัสทางกาย และทำอาหารจากสัตว์ได้หลากหลายเมนูโดยวัตถุดิบที่มีทั้งหมดได้
ทักษะ
:
- สมารถทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยรู้หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบของตนเอง
- สามารถออกแบบและวางแผนเมนูง่ายๆจากวัตถุดิบที่มี             
- สามารถนำเสนอชิ้นงานให้ครู และเพื่อนๆเข้าใจได้
- มีความสุขกับการเรียนรู้
- สามารถใช้ประสาทสัมผัสทางกายบอกลักษณะ สี กลิ่น รสชาติ ของพืชผักที่เรียนรู้ได้
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆมีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี
เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน



























การสังเกตและทำกิจกรรม

ระหว่างวันที่ 16 - 20 เดือน พฤศจิกายน  พ.ศ 2558

วันจันทร์ที่ 16 เดือน พฤษภาคม พ.ศ 2558

กิจกรรมสุนทรียะ

ชื่อกิจกรรม นิทาน




กิจกรรมจิตศึกษา


เป้าหมาย
- สร้างสรรค์
- จินตนาการ
 กิจกรรม: แปรงร่างเม็ดมะค้าแต้
ขั้นเตรียม:
-Body scan โดยให้เด็กนอนในท่าปลาดาว พักผ่อนร่างกายรับรู้ลมหายใจเข้าออก  โดยครูจะเล่านิทานจากปลาดาว 5 นาที
-Brain Gym โดยใช้ท่า แตะสลับร่างกาย  10 ครั้ง โดยให้นักเรียนนับต่อจากคุณครู และใช้ขนมจีบกับซาลาเปา 1-10  ครั้ง
ขั้นกิจกรรม :
- ครูแนะนำอุปกรณ์โดยใช้คำถาม “นักเรียนเห็นอะไรบ้าง /เหมือนหรือแตกต่างจากสิ่งอื่นอย่างไร / ใช้ทำอะไรได้บ้าง/ใช้ทำอะไรไม่ได้บ้าง”
-คุณครูฌ๙ย
- ครูแนะนำวิธีการแปรงร่างเม็ดมะค้าแต้โดยนักเรียนแต่ละคนโดยเชิญคนที่น่ารักออกมาแปรงร่างเม็ดมะค้าแต้ที่ตรงกลาง
 - ครูแจกอุปกรณ์คือก้อนหินติดกาวบนกระดาษ และดินสออย่างละ1 ชิ้นไปทั้งสองฝัง นักเรียนรับ - ส่ง ด้วยการไหว้อย่างนอบน้อม
- นักเรียนสร้างสรรค์ชิ้นงานลงในกระดาษ แล้วนำเสนอร่วมกัน
ขั้นสรุป
:
 - Empower โดยการให้ Monitor มารับพลังความรักด้วยการโอบกอดกับครูเพื่อให้หัวใจเราชนกัน แล้วถ่ายทอดพลังความรักด้วยการโอบกอดเพื่อนที่พร้อมต่อจนครบทุกคน
- นักเรียนที่รับพลังความรักเสร็จแล้วจะมานั่งเป็นกลุ่ม โดยมีครูรอรับนักเรียนพาแตะอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายและร้องเพลงรอเพื่อน
สื่อ/อุปกรณ์
- เพลงพัฒนาคลื่นสมอง
- เม็ดมะค้าแต้

ภาพกิจกรรมจิตศึกษา











คุณครูมอบพลังความรักให้กับนักเรียนให้พี่หัวใจเราชนกัน

เข้าสู่ บทเรียน PBL 









คุณครูพานักเรียนเดินสำรวจผักบริเวณโรงเรียนว่าจะใช้ผักอะไรได้บ้างมาทำเมนูอาหารในสัปดาห์นี้ค่ะ นักเรียนสนุกสนานมากค่ะ



คุณครูและนักเรียนนำผักมาให้เด็กชิมและบอกว่าเป็นผักอะไรบ้าง นักเรียนสนุกสนานที่ได้ชิมผักสดๆ


นักเรียนเรียนวิชา ภาษาไทย







คุณครูให้นักเรียนอ่านและต่อเติมและวาดภาพนิทานปลาดาว

วันอังคารที่ 17 เดือน พฤษภาคม พ.ศ 2558

กิจกรรมสุนทรียะ

ชื่อกิจกรรม เคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์



พานักเรียนร้องเพลง ปลูกดอกไม้นักเรียนตั้งใจร้องมากและสนใจเพราะเป็นเพลงใหม่ๆนักเรียนจะชอบมากค่ะ

กิจกรรม จิตศึกษา
เป้าหมาย
- จินตนาการ
- เชื่อมโยงความเข้าใจสู่รายวิชาภาษาไทยเรื่องพยัญชนะภาษาไทย
กิจกรรม: ต่อเติมภาพตัวพยัญชนะภาษาไทย
ขั้นเตรียม
:
-Body scan โดยให้เด็กนอนในท่าปลาดาว พักผ่อนร่างกายรับรู้ลมหายใจเข้าออก  โดยครูจะเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน 5 นาที
-Brain Gym โดยใช้ท่า แตะสลับร่างกาย  10 ครั้ง โดยให้นักเรียนนับต่อจากคุณครู และใช้ขนมจีบกับซาลาเปา 1-10  ครั้ง
ขั้นกิจกรรม :
- ครูแนะนำอุปกรณ์โดยใช้คำถาม “นักเรียนเห็นอะไรบ้าง /เห็นแล้วนึกถึงคำว่าอะไร” เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
- ครูสร้างข้อตกลงกับนักเรียน
- ครูเชิญนักเรียนที่น่ารักมาเลือกพยัญชนะภาษาไทยที่ตัวเองรู้จัก พร้อมออกเสียงให้เพื่อนออกตาม
- ครูแจกอุปกรณ์ อักษร ก
-
คนละ 1 ใบ และสีเมจิกคนละ 1 แท่ง
- ครูก็ให้นักเรียนต่อเติมภาพตัวอักษร ตามจินตนาการ
-ครูใช้คำถาม นักเรียนได้แปรงร่างพี่ตัวอักษรเป็นภาพอะไรบ้าง/เพราะอะไร/รู้สึกอย่างไร
-มอนิเตอร์บริการเก็บของให้เพื่อน
ขั้นสรุป
:
 - Empower โดยการให้ Monitor มารับพลังความรักด้วยการโอบกอดกับครูเพื่อให้หัวใจเราชนกัน แล้วถ่ายทอดพลังความรักด้วยการโอบกอดเพื่อนที่พร้อมต่อจนครบทุกคน
- นักเรียนที่รับพลังความรักเสร็จแล้วจะมานั่งเป็นกลุ่ม โดยมีครูรอรับนักเรียนพาแตะอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายและร้องเพลงรอเพื่อน
สื่อ/อุปกรณ์

- เพลงพัฒนาคลื่นสมอง
- พยัญชนะภาษาไทย ก-ฮ


ภาพกิจกรรมจิตศึกษา

















ภาพกิจกรรมจิตศึกษา






เข้าสู่บทเรียน  PBL









คุณครูให้นักเรียนได้ชิมผักพร้อมบอกชื่อผักแต่ละชนิดที่นักเรียนรู้จักคนละ 1 ชื่อ






คุณครูให้เด็กทำใบงาน นักเรียนตั้งใจทำใบงานมากค่ะ


นักเรียน เรียนวิชา ภาษาไทย









คุณครูให้นักเรียนแตก web นิทานเรื่อง ปลาดาว 

วันพุธที่ 18 เดือน พฤศภาคม พ.ศ 2558

กิจกรรม จิตศึกษา

เป้าหมาย
- กำกับสติ
- รับรู้ลมหายใจ
- เห็นคุณค่าของตนเอง

กิจกรรม: โยคะ
ขั้นเตรียม
:
Brain Gym โดยใช้ท่า พี่กระต่ายกับพี่ก่อหญ้าสลับที่กัน 10 ครั้ง และพี่ซาลาเปากับพี่กระดาษห่อสลับที่กัน 10 ครั้ง
ขั้นกิจกรรม :
- ครูใช้เรื่องเล่าเชื่อมโยงเข้าสู่กิจกรรม ในทุกๆเช้าพี่พระอาทิตย์จะส่องแสงสว่างมาให้ทุกสรรพสิ่งรวมถึงตัวของเราเอง เราจะขอบคุณพระอาทิตย์พร้อมกัน (ท่าไหว้พระอาทิตย์) แล้วเชื่อมโยงเรื่องราวต่อไปให้เข้ากับท่าโยคะท่าอื่นๆ โดยแต่ละท่าครูให้นักเรียนกำหนดลมหายใจเข้า-ออก (ท่าต้นไม้/เก้าอี้
2 ขา/เก้าอี้ 1 ขา/เครื่องบิน/เต่า/หงส์/จระเข้/งูใหญ่/ธนู/ปลาดาว)
- นักเรียนนอนในท่าปลาดาว แล้วพักผ่อนร่างกาย
5 นาที
- ครูพานักเรียนกระตุ้นส่วนต่างๆของร่างกาย ด้วยการเคาะ และนวดเพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ต่อไป
ขั้นจบ
:
- Empower โดยการให้ Monitor มารับพลังความรักด้วยการโอบกอดกับครู แล้วถ่ายทอดพลังความรักด้วยการโอบกอดเพื่อนที่พร้อมต่อจนครบทุกคน
- นักเรียนที่รับพลังความรักเสร็จแล้วจะมานั่งเป็นกลุ่ม โดยมีครูรอรับนักเรียนพาร้องเพลงรอเพื่อนๆ
สื่อ/อุปกรณ์
- เพลงพัฒนาคลื่นสมอง
- เครื่องเล่นเพลง
ภาพกิจกรรมจิตศึกษา














เข้าสู่บทเรียน PBL 








คุณครูให้นักเรียนแต่ละคนคิดเมนูอาหารเกี่ยวกับผักในสัปดาห์นี้  นักเรียนก็ช่วยกันคิดว่าอยากทำข้าวผัดผักรวมมิตรและน้ำพริกปลาทู คุณครูก็ให้นักเรียนได้คิดอุปกรณ์และวัตถุดิบที่จะใช้ในการทำอาหาร นักเรียนก็ได้เขียนใส่เป็นใบงานของแต่ละคน คุณครูจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม 

เรียนวิชา คณิตศาสตร์










คุณครูให้นักเรียนตวงข้าวใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ให้นักเรียนคาดคะเนว่าจะใส่ข้าวประมาณกี่แก้ว นักเรียนสนุกสนานในการตวงมากค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 19 เดือน พฤษภาคม  พ. ศ 2558

กิจกรรมสุนทรียะ
ชื่อ กิจกรรม เคลื่อนไหวประกอบเพลงทันสมัย




นักเรียนสนุกสนานมากค่ะ

กิจกรรมจิตศึกษา
เป้าหมาย
- ผ่อนคลาย
- เชื่องโยงเรื่องราว
-จินตนาการ
กิจกรรม: ต่อเติมภาพจากเศษดินสอ
ขั้นเตรียม
:
-Body scan โดยให้เด็กนอนในท่าปลาดาว พักผ่อนร่างกายรับรู้ลมหายใจเข้าออก  โดยครูจะเล่าจากชีวิตประจำวัน 5 นาที
-Brain Gym โดยใช้ท่า แตะสลับร่างกาย  10 ครั้ง โดยให้นักเรียนนับต่อจากคุณครู และนับเลข 1-10  ครั้ง โดยการสลับมือในการนับเลข
ขั้นกิจกรรม :
- ครูแนะนำอุปกรณ์โดยใช้คำถาม “นักเรียนเห็นอะไร /ใช้ทำอะไรได้บ้าง/เหมือนหรือแตกต่างกับสิ่งอื่นอย่างไร”
- ครูอธิบายการต่อเติมภาพ ให้นักเรียนต่อเป็นภาพอะไรก็ได้ตามจินตนาการของตัวเอง
- ครูให้คนที่น่ารักออกมาเอากระดาษที่ติดเศษดินสอ คนละ
1
ใบ สีเมจิกคนละ 1 แท่ง ให้กับนักเรียน จะรับไหว้คุณครูอย่างนอบน้อม
- ครูเริ่มให้เด็กต่อเติมภาพจากเศษดินสอ ตามจินตนาการ
- ครูให้นักเรียนนำเสนอภาพว่าต่อเติมเป็นภาพอะไรบ้าง / เพราะว่าอะไร/มีความรู้สึกอย่างไร
ขั้นสรุป
:
- Empower โดยการให้ Monitor มารับพลังความรักด้วยการโอบกอดกับครู แล้วถ่ายทอดพลังความรักด้วยการโอบกอดเพื่อนที่พร้อมต่อจนครบทุกคน
- นักเรียนที่รับพลังความรักเสร็จแล้วจะมานั่งเป็นกลุ่ม โดยมีครูรอรับนักเรียนพาร้องเพลงรอเพื่อนๆ

สื่อ/อุปกรณ์
- เพลงสปา
- กระดาษ
A4 ที่มีเศษดินสอ

-สีเมจิก

ภาพกิจกรรม จิตศึกษา
















ภาพผลงานกิจกรรมจิตศึกษา











เข้าสู่บทเรียน PBL 




คุณครูสร้างข้อตกลงกับนักเรียนก่อนทำอาหาร


















นักเรียนได้เตรียมอุปกรณ์และวัตถุดิบต่างๆเอง นักเรียน ได้เรียนรู้ที่จะทำอะไรได้ด้วยตัวเอง และสนุกสนานกับการทำอาหารมากค่ะ











ทำอาหารเสร็จคุณครูก็จะให้นักเรียนชิมอาหารที่นักเรียนได้ช่วยกันทำ นักเรียนบอกว่าอร่อยมาก


เรียนวิชา ภาษาอังกฤษ








นักเรียนตั้งใจระบายสีใบงานและเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษมากค่ะ

วันศุกร์ที่  20 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ 2558

กิจกรรมจิตศึกษา
เป้าหมาย
- จินตนาการ
- สร้างสรรค์

กิจกรรม: เล่าประสบการณ์ ( ประทับใจสถานที่เที่ยวต่างๆ)
ขั้นเตรียม
:
-Body scan โดยให้เด็กนอนในท่าปลาดาว พักผ่อนร่างกายรับรู้ลมหายใจเข้าออก  โดยครูจะเล่าจากชีวิตประจำวัน 5 นาที
-Brain Gym โดยใช้ท่า แตะสลับร่างกาย  10 ครั้ง โดยให้นักเรียนนับต่อจากคุณครู และพี่ถาดตัวแอลและพี่ขนมจีบ 1-10  ครั้ง
ขั้นกิจกรรม :
- คุณครูจะให้นักเรียนเล่าประสบการณ์ของแต่ละคนให้เพื่อนฟัง แต่คุณครูจะเล่าประสบการณ์ของคุณครูให้นักเรียนฟังก่อน เรื่อง ( ครอบครัวลิง)
-นักเรียนก็จะเล่าประสบการณ์ของตนเองให้เพื่อนฟังจนครบทุกคน
-คุณครูก็จะใช้คำถามว่า รู้สึกอย่างไรบ้าง/เพราะอะไร ถึงเลือกเรื่องนี้เล่าให้เพื่อนๆฟัง
 - ครูและนักเรียนขอบคุณเรื่องราวพร้อมกันด้วยการปรบมือ
ขั้นสรุป
:
- Empower โดยการให้ Monitor มารับพลังความรักด้วยการโอบกอดกับครู แล้วถ่ายทอดพลังความรักด้วยการโอบกอดเพื่อนที่พร้อมต่อจนครบทุกคน
- นักเรียนที่รับพลังความรักเสร็จแล้วจะมานั่งเป็นกลุ่ม โดยมีครูรอรับนักเรียนพาร้องเพลงรอเพื่อนๆ
สื่อ/อุปกรณ์
- เพลงพัฒนาคลื่นสมอง

ภาพกิจกรรมจิตศึกษา






กิกจรรม PBL 






เรียนวิชา คณิตศาสตร์





ใบงานคณิตศาสตร์










ใบงาน PBL












สรุปสิ่งที่ได้รับในสัปดาห์ที่ 4 

       ครูและนักเรียนเดินสำรวจ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ บริเวณครัวใหญ่และบ้านมัธยม โดยให้นักเรียนช่วยกันเก็บผักที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้  นักเรียนเดินสำรวจผักต่างๆ เช่น ใบโหระพา แมงลัก ตะไคร้ ใบมะกรูด  พริก มะนาว ฯลฯ ครูใช้คำถามกระตุ้น นักเรียน ได้ผักอะไรบ้าง อยู่ที่ไหน มีวิธีการล้างผักอย่างไร  แล้วเก็บเข้าตู้เย็น  ในชั่วโมงต่อมาครูและนักเรียนทบทวนผักที่เลือกเก็บมาร่วมกัน เพื่อสรุปโดยการวาดรูปภาพผักพร้อมเขียนชื่อผักลงในกระดาษ จากนั้นกลับไปสอบถามผู้ปกครองที่บ้าน ว่าผักเหล่านี้สามารถนำมาประกอบอาหารอะไรได้บ้างหลังจากที่ได้ไปสอบถามผู้ปกครองมา  นักเรียนทุกคนจะได้มานำเสนอเมนูร่วมกันจนได้เมนูที่ต้องทำดังนี้ กลุ่มที่ 1ข้าผัด กลุ่มที่ 2 น้ำพริกปลาทู  และกลุ่มที่ 3 สลัดผัก  จากนั้นครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับ อุปกรณ์ เครื่องเทศ ในการทำอาหาร เพื่อสรุปใส่กระดาษทำเป็นปฏิทินในชั่วโมง
         วันพฤหัสบดี ครูและนักเรียนได้สร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำอาหาร สัปดาห์นี้ผู้ปกครองอาสาไม่มา ครูใช้คำถามกระตุ้นจากสื่อต่างๆ เช่น “เห็นอะไร มีลักษณะ มีอะไรบ้าง “หลังจากนั้นนักเรียนได้ลงมือทำโดยนำผักของกลุ่มตัวเองไปล้างให้สะอาด นำมาหั่นเป็นชิ้น แล้วลงมือตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้  เมื่อทำอาหารเสร็จเรียบร้อยทุกคนร่วมกันชิมรสชาติอาหารที่ทำ พร้อมอธิบายรสชาติเป็นอย่างไร เช่น “มีรสเค็ม เพราะอะไร มีรสเผ็ด เพราะอะไร”
         วันศุกร์นักเรียนแต่ละคนก็จะนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ จากการทำอาหารให้เพื่อนฟัง เช่น มีอุปกรณ์อะไรบ้าง มีขั้นตอนทำอย่างไร รสชาติเป็นอย่างไร /เพราะอะไร นักเรียนสามารถนำเสนองานโดยการเล่าถ่ายทอดในสิ่งที่ตนเองทำให้ผู้อื่นเข้าใจได้ดีมากค่ะ

        นักเรียนได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และปฏิบัติการทำอาหารด้วยตนเองค่ะ และนักเรียนก็ได้เรียนรู้ว่ากว่าจะได้มาเป็นอาหารแต่ละเมนูนั้นไม่ยากเลย และก็ได้เรียนรู้ไปพร้อมกับนักเรียนค่ะ จะนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น