Week3

                   
เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถอธิบายพืชผักที่เก็บมาโดยใช้ประสาทสัมผัสทางกาย และทำอาหารจากสัตว์ได้หลากหลายเมนูโดยวัตถุดิบที่มีทั้งหมด
Week3
Input
Process
Output
Outcome

โจทย์ :
อาหารจากสัตว์
Key  Questions :
- จากพืชผักที่นักเรียนเลือกเก็บมามีชื่อว่าอะไร /มีลักษณะอย่างไร /เก็บมาจากที่ไหน /มีกลิ่นอย่างไร /รสชาติเป็นอย่างไร/เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
- นักเรียนจะนำผักทุกอย่างที่เราเก็บมาทำเป็นอาหาร 1 อย่าง แล้วจะทำอะไรได้บ้าง? (เครื่องต้มยำ ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ผักชีฝรั่ง มะนาว)
- นักเรียนคิดว่ายังมีส่วนผสมอะไรอีกที่ใช้ในการทำอาหารของตนเอง?
- อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำอาหารของนักเรียนมีอะไรบ้าง/ใครจะช่วยเตรียมได้บ้าง
?
เครื่องมือคิด :
- Brainstorms เพื่อระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการนำวัตถุดิบที่มี
-
Show and Share ชิ้นงานทั้งหมดในสัปดาห์
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- พืชผักภายในโรงเรียน
- บริเวณภายในโรงเรียน
- อุปกรณ์ทำอาหาร
















วันจันทร์ 1 ชั่งโมง
ชง
- ครูพานักเรียนเดินสำรวจบริเวณรอบๆครัวใหญ่ของโรงเรียน เพื่อสำรวจพืชผักที่จะนำกลับมาทำเป็นอาหาร
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "พืชผักต่างๆเหล่านี้นำมาทำอาหารอะไรได้บ้าง"
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการนำผักต่างๆมาทำเป็นอาหาร
- ครูพานักเรียนเลือกเก็บผักที่ต้องการ
(เครื่องต้มยำ ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ผักชีฝรั่ง มะนาว)
- ครูและนักเรียนช่วยกันล้างทำความสะอาดพืชผักที่เก็บมาจากครัวใหญ่
วันอังคาร 1 ชั่วโมง

ชง
ครูตั้งคำถามจากสิ่งที่เก็บมา “จากพืชผักที่นักเรียนเลือกเก็บมามีชื่อว่าอะไร /มีลักษณะอย่างไร /เก็บมาจากที่ไหน /มีกลิ่นอย่างไร /รสชาติเป็นอย่างไร/เหมือนหรือต่างกันอย่างไร”


เชื่อม
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการใช้ประสาทสัมผัสทางกาย จากการมอง ดมกลิ่น สัมผัส และชิมรสชาติ ของพืชผักที่เก็บมาทั้งหมด
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะนำผักทุกอย่างที่เราเก็บมาทำเป็นอาหาร
1 อย่าง แล้วจะทำอะไรได้บ้าง”
เชื่อม
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกับเมนูอาหารที่สามารถรวมพืชผักทั้งหมดมาทำเป็นอาหาร 1 อย่างได้
ใช้
- นักเรียนวาดภาพและเขียนชื่อของพืชผักที่เก็บมาลงในสมุด
- นักเรียนกลับไปสอบถามคุณแม่หรือผู้ปกครองที่บ้านว่าผักทั้งหมดสามารถนำมาทำอาหาร 1 อย่างแล้วจะทำอะไรได้บ้าง
วันพุธ 1 ชั่งโมง
ชง
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนจะนำผักทุกอย่างที่เราเก็บมาทำเป็นอาหาร 1 อย่าง แล้วจะทำอะไรได้บ้าง”
เชื่อม
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการนำผักทั้งหมดไปทำอาหาร 1 อย่างร่วมกัน เพื่อจะทำอาหาร โดยแบ่งอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมมาในวันพฤหัสบดี
ใช้
นักเรียนเขียนอุปกรณ์ที่ต้องรับผิดชอบนำมาในวันพุธลงในสมุดของตนเอง เพื่อเตรียมเป็นการบ้าน
วันพฤหัสดี 1 ชั่วโมง
ชง
ครูและนักเรียนร่วมกันทำอาหารจากผักที่มีอยู่และ วัตถุดิบที่เตรียมมาเพิ่มเติมเป็น 4 กลุ่มๆละ 5 คน
เชื่อม
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับอาหารที่ทำขึ้นทั้ง 4 กลุ่ม กลิ่น รสชาติ และส่วนผสม
ใช้
นักเรียนเขียนสรุปการทำอาหารเป็นกลุ่ม
วันศุกร์ 1 ชั่วโมง
ชง
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ในสัปดาห์ที่ 3 นี้นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง / เรียนรู้อย่างไร
เชื่อม
-
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
- นำเสนอชิ้นงานเป็นกลุ่ม
ภาระงาน
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการนำผักต่างๆมาทำเป็นอาหาร
-
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการใช้ประสาทสัมผัสทางกาย จากการมอง ดมกลิ่น สัมผัส และชิมรสชาติ ของพืชผักที่เก็บมาทั้งหมด
- ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกับเมนูอาหารที่สามารถรวมพืชผักทั้งหมดมาทำเป็นอาหาร
1 อย่างได้
- ประกอบอาหารจากวัตถุดิบที่เก็บมาเป็นกลุ่ม
ชิ้นงาน
- วาดภาพและเขียนชื่อพืชผักที่เก็บมาจากครัวใหญ่
- สรุปการทำอาหารเมนูจากสัตว์
ความรู้
นักเรียนสามารถอธิบายพืชผักที่เก็บมาโดยใช้ประสาทสัมผัสทางกาย และทำอาหารจากสัตว์ได้หลากหลายเมนูโดยวัตถุดิบที่มีทั้งหมดได้
ทักษะ
:
- สมารถทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยรู้หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบของตนเอง
- สามารถออกแบบและวางแผนเมนูง่ายๆจากวัตถุดิบที่มี             
- สามารถนำเสนอชิ้นงานให้ครู และเพื่อนๆเข้าใจได้
- มีความสุขกับการเรียนรู้
- สามารถใช้ประสาทสัมผัสทางกายบอกลักษณะ สี กลิ่น รสชาติ ของพืชผักที่เรียนรู้ได้
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆมีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี
เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน

























การสังเกตการสอนและทำกิจกรรม
ระหว่างวันที่ 9-10 พฤศจิกายน พ.ศ 2558
วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ 2558

เป้าหมาย
- สร้างสรรค์
- จินตนาการ
กิจกรรม: ต่อเติมภาพจากใบ้ไม้แห้ง
ขั้นเตรียม
:
Body scan โดยให้เด็กนอนในท่าปลาดาว พักผ่อนร่างกายรับรู้ลมหายใจเข้าออก  โดยครูจะเล่านิทานจากปลาดาว 5 นาที
-Brain Gym โดยใช้ท่า แตะสลับร่างกาย  10 ครั้ง โดยให้นักเรียนนับต่อจากคุณครู และใช้สุนัขจิ้งจอก กับพี่งูใหญ่ 1-10  ครั้ง
ขั้นกิจกรรม :
- ครูแนะนำอุปกรณ์โดยใช้คำถาม “นักเรียนเห็นอะไรบ้าง /เห็นสีอะไรบ้าง /เหมือนหรือแตกต่างจากสิ่งอื่นอย่างไร / คล้ายกับอะไร/ใช้ทำอะไรได้บ้าง”
- ครูแนะนำวิธีการต่อเติมภาพวาดจากใบไม้แห้งโดยใช้ตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
- ครูแจกอุปกรณ์โดยคุณครูจะเชิญคนที่น่ารักมาหยิบกระดาษคนละ
A 4 คนละ 1 แผ่น และสีเมจิกคนละ1 ชิ้น ใบไม้คนละ 1 ใบ นักเรียนรับ - ส่ง ด้วยการไหว้อย่างนอบน้อม
- นักเรียนสร้างสรรค์ชิ้นงานลงในกระดาษ แล้วนำเสนอร่วมกัน
-คุณครูตั้งคำถาม  นักเรียนได้ต่อเติมใบไม้เป็นรูปอะไร/ เพราะเหตุใดจึง/มีความรู้สึกอย่างไรบ้าง
-ให้พี่มอติเตอร์บริการเก็บของให้เพื่อน และรับไหว้เพื่อนอย่างนอบน้อม
ขั้นจบ
 - Empower โดยการให้ Monitor มารับพลังความรักด้วยการโอบกอดกับครูเพื่อให้หัวใจเราชนกัน แล้วถ่ายทอดพลังความรักด้วยการโอบกอดเพื่อนที่พร้อมต่อจนครบทุกคน
- นักเรียนที่รับพลังความรักเสร็จแล้วจะมานั่งเป็นกลุ่ม โดยมีครูรอรับนักเรียนพาแตะอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายและร้องเพลงรอเพื่อน
สื่อ/อุปกรณ์
- เพลงพัฒนาคลื่นสมอง

- ใบไม้แห้ง
- กระดาษ A4
- สีเมจิก
ภาพประกอบการทำกิจกรรมจิตศึกษา
















คุณครูมอบพลังความรักให้พี่หัวใจเราชนกัน




เข้าสู่บทเรียน PBL 

สัปดาห์ที่ 3 นักเรียนได้เรียนเรื่องการทำอาหารจากสัตว์ประเภท  เมนูต้มยำ มีต้มยำ ไก่ หมู ปลา กุ้ง






พานักเรียนเดินสำรวจที่ครัวของโรงเรียนว่ามีผักชนิดใดบ้างที่สามารถนำมาเป็นเครื่องต้มยำได้







นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการล้างผัก ว่าทำไมเราจึงต้องล้างผักก่อนที่จะนำมาทำอาหาร 


เรียนวิชา คณิตศาสตร์







เรียนวิชา ภาษาไทย










นักเรียนได้ช่วยกันวาดภาพระบายสีนิทาน ปลาดาวบนชายหาด ตั้งใจทำมากค่ะให้ซุปเปอร์ยอดเยี่ยมค่ะ


วันอังคารที่  10 พฤศจิกายน พ.ศ 2558

เป้าหมาย
- จินตนาการ
- เชื่อมโยงความเข้าใจสู่รายวิชาภาษาอังกฤษเรื่องตัวอังษรภาษาอังกฤษ
-เรื่องสี และคำศัพท์
 กิจกรรม: แปลงร่างตัวอักษรภาษาอังกฤษ
ขั้นเตรียม:
-Body scan โดยให้เด็กนอนในท่าปลาดาว พักผ่อนร่างกายรับรู้ลมหายใจเข้าออก   5 นาที
-Brain Gym โดยใช้ท่า  ขนมจีบกับถาดตัวแอล  1-10 ครั้ง  และใช้สุนัขจิ้งจอก กับพี่งูใหญ่ 1-10  ครั้ง
ขั้นกิจกรรม :
- ครูแนะนำอุปกรณ์โดยใช้คำถาม “นักเรียนเห็นสีอะไรบ้าง /ภาษาอังกฤษเรียกว่าอะไร /  คล้ายกับอะไร/เหมือนหรือแตกต่างกับสิ่งอื่นอย่างไร/ใช้ทำอะไรได้บ้าง”
- ครูสร้างข้อตกลงกับนักเรียนคุณครูจะแจกอุปกรณ์กระดาษที่มีตัวอักษรภาษาอังกฤษให้คนละ
1
ใบ แจกสีเมจิกคนละ 1 แท่ง
- ครูเชิญนักเรียนที่น่ารักมาเลือกกระดาษที่มีตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ตัวเองรู้จัก
1 ตัวอักษร และหยิบสีเมจิกที่ตนเองชอบอีก 1
แท่ง
- นักเรียนลงมือแปลงร่างตัวอักษรภาษาอังกฤษต่างจินตนาการของตนเอง เสร็จแล้วนำเสนอร่วมกันทีละคน
-คุณครูใช้คำถาม ต่อเติมพี่ตัวอักษรเป็นรูปอะไรบ้าง /เพราะอะไร/มีความรู้สึกอย่างไรบ้าง
ขั้นจบ
 :
- Empower โดยการให้ Monitor มารับพลังความรักด้วยการโอบกอดกับครูเพื่อให้หัวใจเราชนกัน แล้วถ่ายทอดพลังความรักด้วยการโอบกอดเพื่อนที่พร้อมต่อจนครบทุกคน
- นักเรียนที่รับพลังความรักเสร็จแล้วจะมานั่งเป็นกลุ่ม โดยมีครูรอรับนักเรียนพาแตะอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายและร้องเพลงรอเพื่อน
สื่อ/อุปกรณ์
- เพลงพัฒนาคลื่นสมอง
- สีเมจิกสีต่างๆ
- กระดาษที่มีตัวอักษรภาษาอังกฤษอยู่แผ่นละ
1 ตัว A-Z ไม่ซ้ำกัน














กิจกรรม PBL











ทำใบงานเครื่งปรุงการทำเมนู ต้มยำ

วิชา ภาษาไทย





คุณครูให้นักเรียนระบายสีภาพปลาดาว นักเรียนตั้งใจมากค่ะ ยอดเยี่ยมมากค่ะ

วันพุธที่ 11 พฤศภาคม พ. ศ 2558

กิจกรรม สุนทรียะ

ชื่อ กิจกรรม เกม/การกีฬา






คุณครูให้นักเรียนจัดเป็นแถว แถวล่ะ 5-6 คนแล้วก็แจกอุปกรณ์ให้เด็กที่ละแถว คุณครูเริ่มแจกอุปกรณ์ให้คนที่น่ารัก ช้อนแถวละ 1 อัน  มะนาวคนละ 1 ลูก คุณครูก็ให้เด็กเริ่มแข็งขันกันโดยให้เด็กนำช้อนแล้วนำลูกมะนาววางบนช้อน แล้วก็ส่งต่อกันจนครบทุกคน แถวไหนส่งจนครบทุกคนก็นั่งลง นักเรียนสนุกสนานมากค่ะ ยอดเยี่ยมมากค่ะ

กิจกรรม จิตศึกษา
ชื่อกิจกรรม โยคะ/กายบริหาร

เป้าหมาย
- กำกับสติ
- รับรู้ลมหายใจ
- เห็นคุณค่าของตนเอง

ขั้นกิจกรรม :

ครูนำท่าโยคะ/กายบริหารทีละขั้น พร้อมให้นักเรียนกำหนดลมหายใจเข้าออกขณะที่ทำในแต่ละท่าดังนี้
 ขั้นจบ :


 - Empower โดยการให้ Monitor มารับพลังความรักด้วยการโอบกอดกับครูเพื่อให้หัวใจเราชนกัน แล้วถ่ายทอดพลังความรักด้วยการโอบกอดเพื่อนที่พร้อมต่อจนครบทุกคน

- นักเรียนที่รับพลังความรักเสร็จแล้วจะมานั่งเป็นกลุ่ม โดยมีครูรอรับนักเรียนพาแตะอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายและร้องเพลงรอเพื่อน
สื่อ/อุปกรณ์

- เพลงพัฒนาคลื่นสมอง

- เครื่องเล่นเพลง                                   

ภาพกิจกรรม โยคะ / กายบริหาร











นักเรียนตั้งใจทำกิจกรรมมากค่ะ ยอดเยี่ยมมากค่ะ

เข้าสู่บบทเรียน PBL








คุณครูให้นักเรียน เรียนรู้เรื่อง ต้มยำ วันนี้คุณครูได้สอนเรื่องเครื่องปรุงของเครื่องต้มยำมีอะไรบ้าง คุณครูให้เด็กทำ  pop up เด็กตั้งใจทำกิจกรรมมากค่ะ ยอดเยี่ยมมากค่ะ

 วิชา ภาษาไทย 




ระบายสีรูปปลาดาวและเขียนคำศัพท์หลังภาพปลาดาว ยอดเยี่ยมมากค่ะ 



เขียนคำศัพท์จากนิทานเรื่อง ปลาดาวบนชายหาดเป็นคู่ 

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษจิกายน พ.ศ 2558

กิจกรรม  สุนทรียะ

ชื่อกิจกรรม  เคลื่อนไหวประกอบดนตรี







คุณครูพานักเรียนเคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะเพลง นักเรียนตั้งใจมากค่ะ

กิจกรรม จิตศึกษา



เป้าหมาย
- ผ่อนคลาย
- เชื่องโยงเรื่องราว
กิจกรรม: ดนตรี

ขั้นเตรียม:

-Body scan โดยให้เด็กนอนในท่าปลาดาว พักผ่อนร่างกายรับรู้ลมหายใจเข้าออก   5 นาที
-Brain Gym โดยใช้ท่า  ขนมจีบกับถาดตัวแอล  1-10 ครั้ง  และใช้ซาลาเปาและพี่กระดาษเด็กนับพร้อมกัน 1-10 ครั้ง
ขั้นกิจกรรม :

- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง “สุขทุกที” และเพลง ใบไม้ตันเดียวกันพร้อมท่าทางประกอบ
- ครูใช้คำถามกระตุ้น “รู้สึกอย่างไรเมื่อร้องเพลงนี้ / เพลงนี้บอกอะไรเราบ้าง / ได้เรียนรู้อะไรจากบทเพลง/ เพราะเหตุใด”
- นักเรียนนำเสนอความคิดเห็นร่วมกันทีละคน
- ครูและนักเรียนขอบคุณบทเพลงด้วยการปรบมือแบบไร้เสียง
ขั้นจบ :

- Empower โดยการให้ Monitor มารับพลังความรักด้วยการโอบกอดกับเพื่อนเพื่อให้หัวใจเราชนกัน โดยความรักของคุณครูทุกคนได้มอบไว้ให้กับพี่มอนิเตอร์แล้วค่ะ
-นักเรียนที่รับพลังความรักเสร็จแล้วจะมานั่งเป็นกลุ่ม โดยมีครูรอรับนักเรียนพาแตะอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายและร้องเพลงรอเพื่อน
สื่อ/อุปกรณ์
- เพลงพัฒนาคลื่นสมอง

- เพลง สุขทุกที

- เพลง ใบไม้ต้นเดียวกัน
ภาพประกอบจิตศึกษา








มอบพลังความรักให้พี่หัวใจเราชนกัน

เข้าสู่กิจกรรม PBL  

ทำอาหาร เมนู ต้มยำ ปลา ไก่  ไข่เจียว









นักเรีนฃยนได้เรียนรูการทำด้วยตัวเองให้เด็กได้คิดเองว่าจะใส่อะไรลงไปบ้าง เด็กก็ช่วยกันเตรียมอุปกรณ์ เครื่องปรุง ว่ามีอะไรบ้าง นักเรียนได้เรียนรู้ขั้นตอนการทำอย่างไร ได้วิทยากร คุรพ่อพี่แก้วมาให้ความรู้แกเด้กๆว่าต้องทำวิธิและขั้นตอนอย่างไรบ้าง นักเรียนทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมมากค่ะ


ต้มยำปลา


ต้มยำไก่


ต้มยำไข่เจียว








นักรียนได้ชิมอาหาร เมนูต้มยำที่ตนเองได้ทำด้วยตนเอง นักเรียนภูมิใจมากที่ได้ชิมอาหารที่ทำด้วยตัวเองนักเรียนก็ได้เรียนรู้การแบ่งปันให้เพื่อนของเรา ยอดเยี่ยมมากค่ะ




คุณครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่ามีอุปกรณ์ และมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง




นักเรียนได้สรุปร่วมกันและทำใลงานร่วมกันเป็นกลุ่ม

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ 2558

กิจกรรม สุนทรียะ 
ชื่อ กิจกรรม นาฏศิลป์และเพลงพื้นบ้าน



กิจกรรม จิตศึกษา

เป้าหมาย

- จินตนาการ

- สร้างสรรค์ 

กิจกรรม: นิทาน เรื่อง “  กูจี กูจี

ขั้นเตรียม:

-Body scan โดยให้เด็กนอนในท่าปลาดาว พักผ่อนร่างกายรับรู้ลมหายใจเข้าออก   5 นาที
-Brain Gym โดยให้เด็กแตะพี่ร่างกายของตัวเอง 1-10 โดยนับต่อจากครู  ขนมจีบกับถาดตัวแอล  1-10 ครั้ง  และใช้ซาลาเปาและพี่กระดาษเด็กนับพร้อมกัน 1-10 ครั้ง
ขั้นกิจกรรม :

- ครูแนะนำอุปกรณ์โดยใช้คำถาม “นักเรียนเห็นอะไร  /คล้ายอะไร/ เคยเห็นที่ไหน /สามารถเป็นอะไรได้บ้าง” 
- ครูเริ่มเล่านิทาน

-คุณครูระหว่างการเล่านิทานคุณครูได้ใช้คำถามกระตุ้น  ตัวละครมีใครบ้าง  มีเหตุการณ์อะไรเกิดขี้นบ้าง รู้สึกอย่างไร
- ครูและนักเรียนขอบคุณเรื่องราวพร้อมกันด้วยการปรบมือ

ขั้นสรุป :

- Empower โดยการให้ Monitor มารับพลังความรักด้วยการโอบกอดกับครูเพื่อให้หัวใจเราชนกัน แล้วถ่ายทอดพลังความรักด้วยการโอบกอดเพื่อนที่พร้อมต่อจนครบทุกคน

- นักเรียนที่รับพลังความรักเสร็จแล้วจะมานั่งเป็นกลุ่ม โดยมีครูรอรับนักเรียนพาแตะอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายและร้องเพลงรอเพื่อน
สื่อ/อุปกรณ์

- เพลงพัฒนาคลื่นสมอง

- นิทาน กูจี กูจี


ภาพประกอบกิจกรรม

 








มอบพลังความรักให้พี่หัวใจเราชนกัน

เข้าสู่กิจกรรม BPL 








นักเรียนนำเสนองานเป็นกลุ่ม และเดี่ยว ว่านักเรียนได้เรียนรู้ และมีอุปกรณ์ ขั้นตอนการทำ

วิชา  คณิตศาสตร์














นักเรียนได้ทำใบงานคณิตศาสตร์


นักเรียนตั้งใจทำใบงานมากค่ะ ซุปเปอร์ยอดเยี่ยม



สรุปสิ่งที่ได้รับในสัปดาห์ที่ 3 

ในสัปดาห์ที่ 3 วันจันทร์นักเรียนได้เรียนรู้การทำอาหารจากสัตว์ เมนู ต้มยำ โดยคุณครูจะสร้างแรงโดย

การที่พาเด็กเดินสำรวจรอบๆโรงเรียนก่อน แล้วกลับมาสรุปร่วมกันว่าเด็กๆเห็นผักที่อยู่ในโรงเรียนนั้นนำ

มาเป็นเครื่องต้มมยำอะไรได้บ้าง เด็กก็จะตอบว่า มีข่า ใบมะกรูด  มะนาว มะเขือเทศ เป็นต้น เด็กก็จะ

บอกว่าที่บ้านแม่เคยทำให้กิน และวันอังคารคุณครูก็ได้ถามเด็นนักเรียนว่าอยากทำเมนูต้มยำอะไรบ้าง

 นักเรียนก็ร่วมกันนำเสนอ เช่น ต้มยำปลา ต้มยำกุ้ง ต้มยำไก่ วันพุธเด็กได้เดินไปเก็บผักที่ใส่เป็นเครื่อง

ต้มยำได้มาร่วมกันและคุณครูและเด็กก็สรุปร่วมกัน ว่ามีอุปกรณ์และวัตถุดิบอะไรบ้าง วันพฤหัสบดีคุณครู

ก็ได้พาเด็กทำเมนูต้มยำที่เด็กๆคิดกันเอาไว้ วันศุกร์ก็สรุปและให้เด็กแต่ละกลุ่มนำเสนอ ได้เรียนรู้ไป

พร้อมๆกับเด็กนักเรียน และเด็กนักเรียนสามารถทำอาหารได้เก่งมากยอดเยี่ยมมากค่ะ นักเรียนจะตั้งใจ

ในการประกอบอาหารมากค่ะ และดิฉันจะเอาความรู้ที่ได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น